ความหมายวันสงกรานต์
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสฤกต
คำว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่
คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15
เดือน เมษายน ของทุกปี แต่ วันสงกรานต์
นั้นคือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14
เป็นวันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ
จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ
แปลว่าการสิ้นปีพิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว
หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง
แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง
และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี
ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ
ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่
การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์
นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข
ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น
?Water Festival? เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่น มาดูคำทำนายในแต่ละวันในวันมหาสงกรานต์
คำทำนายในวันมหาสงกรานต์
1. ถ้าวันอาทิตย์ เป็น วันมหาสงกรานต์
ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเนา ข้าวจะตายฝอย
คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเถลิงศก
พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ
2. ถ้าวันจันทร์ เป็น วันมหาสงกรานต์
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิง คุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ ถ้าวันจันทร์เป็น
วันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็น
วันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะมีความสุขสำราญ
3. ถ้าวันอังคาร เป็น วันมหาสงกรานต์
โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง แต่ถ้าวันอังคารเป็น วันเนา
ผลหมากรากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็น วันเถลิงศก ข้าราชการทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล
4. ถ้าวันพุธ เป็นวัน มหาสงกรานต์
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็น วันเนา
ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็น วันเถลิงศก บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ
5. ถ้าวันพฤหัสบดี เป็น วันมหาสงกรานต์
ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่ และเจ้านาย ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเนา ผลไม้จะแพง
ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเถลิงศก สมณชีพราหมณ์จะปฏิบัติกรณียกิจอันดีงาม
6. ถ้าวันศุกร์ เป็น วันมหาสงกรานต์
พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก
ถ้าวันศุกร์เป็น วันเนา พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย
แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็น วันเถลิงศก พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก
7. ถ้าวันเสาร์ เป็น วันมหาสงกรานต์
โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ถ้าวันเสาร์เป็น วันเนา ข้าวปลาจะแพง
ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ
ถ้าวันเสาร์เป็น วันเถลิงศก บรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู
ฉะนั้นสงกรานต์ตามคตินิยมโบราณ นิยมสรงน้ำพระและผู้เฒ่าผู้แก่อันเป็นการแสดงความเคารพนับถือแสดงความกตัญญูและเพื่อความเป็นสิริมงคล
เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข
คะลำ เรื่องต้องห้าม วันสงกรานต์
..คะลำ หรือข้อต้องห้ามสิ่งที่ห้ามทำ ห้ามปฏิบัติ… หากฝ่าฝืนทำจะเป็นการไม่ดีจะผิดผีจารีตประเพณีไปนั่น
สำหรับข้อห้ามหรือคะลำในวันสงกรานต์นั้น ส่วนมากจะพบทางแถบภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่แต่จะมีอะไรบ้างนั้นต้องไปดูกันค่ะ
ข้อคะลำในวันสงกรานต์
…..วันสงกรานต์หรือวันเนา เชื่อกันว่ามาจากคำว่า “เน่า” หมายความว่าถ้าใครกระทำผิดคะลำในวันนี้แล้ว
เวลาตายไปจะเน่าเหม็น สำหรับในวันนี้ของสังคมอีสานในอดีตถือว่าเป็นวันหนึ่งในรอบปีที่ต้องผ่อนคลาย
สนุกสนานให้เต็มที่ การเตรียมการเตรียมงานหรือเวียกงานต่างๆ ต้องกระทำก่อนหน้านั้นให้เสร็จสิ้น
หากมีบุคคลใดฝ่าฝืนทำสิ่งใดในวันนี้ถือว่าคะลำ ไม่เจริญรุ่งเรือง
ทำมาค้าขายไม่ขึ้น จะต้องตายเน่าตายเหม็นอย่างไม่มีศักดิ์ศรี ซึ่งคล้ายกับข้อห้ามของวันว่างในประเพณีของคนใต้
สำหรับข้อคะลำที่ห้ามประพฤติปฏิบัติในวันเนาตามความเชื่อของคนอีสานมีดังนี้
- ห้ามผ่าฟืน ฟันฟืน
- ห้ามตำข้าว ห้ามเปิดยุ้งข้าวตักข้าว
- กองฟืนจะต้องหาพงหนามไปปิดไว้
- ครกตำข้าวจะต้องเอาพงหนามไปปิดไว้
- ห้ามทอผ้า
- ห้ามสานแห
…..สรุปคือ ห้ามทำการงานทุกอย่างในวันดังกล่าว ให้สนุกสนานร่วมงานของเพื่อนบ้านอย่างเต็มที่ถือว่าเป็นการผ่อนคลายความเคร่งเครียดตรากตรำ
ทำงานตลอดปีอีกวันหนึ่ง สำหรับข้อห้ามในวันสงกรานต์ที่ตรงกับภาคอื่นเห็นจะมีอยู่ 2 อย่างคือ
…..ทางภาคเหนือ หรือ สงกรานต์ล้านนา หรือ “ประเพณีปี๋ใหม่เมือง” เค้าก็จะมี “วันเนา” หรือ “วันเน่า”
(14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้าย เพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี
…..ทางภาคใต้ ก็จะมีวันว่างซึ่งจะมีก่อนวันสงกรานต์วันหรือ 2 วันเป็นวันที่ห้ามทำการงานใดๆเป็นอันขาดให้ทำตัวให้สนุกสนานได้อย่างเต็มที่
หากใครทำก็จะทำให้ตลอดทั้งปีนั้นมีแต่ความยากลำบากซึ่งตรงกับคะลำของทางอีสานนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น